ตราราชวงศ์จักรีและตราประจำพระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่าง ๆ
เข้ามาดูกันเยอะ ๆนะคะแล้วก็ช่วยเม้นท์ด้วยนะคะอย่าลืมหล่ะ.......
ผู้เข้าชมรวม
640
ผู้เข้าชมเดือนนี้
1
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
"มหาอุณาโลม" เป็นตรางา
ลักษณะกลมรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ "อุ" อยู่ตรงกลาง
("อุ" มีลักษณะ เป็นม้วนกลม คล้ายลักษณะความหมายของพระนามเดิมว่า "ด้วง")
ตรามหาอุณาโลมนี้ หมายถึงตาที่สามของพระอิศวร ซึ่งถือเป็นปฐมฤกษ์ในการตั้งพระบรมราชจักรีวงศ์ ล้อมด้วยกลีบบัว ซึ่งเป็นพฤกษชาติที่เป็นสิริมงคล ทางพระพุทธศาสนา
ตราประจำรัชกาลที่ ๒"ครุฑจับนาค" เป็นตรางา
ลักษณะกลม รูปครุฑจับนาค เนื่องจากพระนามเดิมคือ "ฉิม" ซึ่งตามความหมายของวรรณคดีไทยเป็นที่อยู่ของพญาครุฑ"มหาปราสาท" เป็นตรางา
ลักษณะกลม รูปปราสาท เนื่องจากพระนามเดิมคือ "ทับ" ซึ่งหมายถึงที่อยู่หรือเรือน จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระลัญจกรเป็นรูปปราสาท"พระมหาพิชัยมงกุฎ" เป็นตรางา ลักษณะกลมรี รูปพระมหามงกุฎ (ตามพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ) อยู่ในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ มีฉัตรปริวาร ๒ ข้าง มีพานทอง ๒ ชั้น วางพระแว่นสุริยกานต์ หรือ เพชรข้างหนึ่ง (พระแว่นสุริยกานต์ หรือ เพชร หมายถึง พระฉายา เมื่อทรงผนวชว่า วชิรญาณ)
อีกข้างหนึ่ง วางสมุดตำรา (หมายถึง ทรงศึกษาเชี่ยวชาญในทางอักษรศาสตร์ และดาราศาสตร์)"พระจุลมงกุฎ หรือพระเกี้ยว" เป็นตรางา
ลักษณะกลมรี กว้าง ๕.๕ ซ.ม. ยาว ๖.๘ ซ.ม. มีรูปพระเกี้ยวยอดมีรัศมีประดิษฐานบนพานทอง ๒ ชั้น (หมายถึงพระเกี้ยวเจ้าฟ้าในคราวโสกัณฑ์) เคียงด้วยฉัตรปริวาร ๒ ข้าง ที่ริมขอบทั้ง ๒ ข้าง มีพานทอง ๒ ชั้น วางพระแว่นสุริยกานต์ หรือเพชรข้างหนึ่ง
อีกข้างหนึ่ง วางสมุดตำรา (เป็นการเจริญรอยจำลอง พระราชลัญจกร ของรัชกาลที่ ๔)"มหาวชิราวุธ" เป็นตรางา
ลักษณะกลมรี กว้าง ๕.๕ ซ.ม. ยาว ๖.๘ ซ.ม. รูปวชิราวุธ มีรัศมีประดิษฐานบนพานทอง ๒ ชั้น ตั้งอยู่เหนือตั่ง มีฉัตรปริวาร ๒ ข้าง (รูปตรานี้ใช้ตามพระนามของพระองค์ คือ วชิราวุธ ซึ่งหมายความถึงศัตราวุธของพระอินทร์)ตราพระราชลัญจกรนี้ สร้างขึ้นสำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน
"พระไตรศร" เป็นตรางา ลักษณะกลมรี กว้าง ๕.๔ ซม. ยาว ๖.๗ ซม. รูปราวพาดพระแสงศร ๓ องค์
คือ พระแสงศรพรหมศาสตร์, พระแสงศรอัคนีวาต และพระแสงศรประลัยวาต
(เป็นศรของพระพรหม, พระนารายณ์ และของพระอิศวร ซึ่งใช้ตามความหมายของพระนามเดิมคือ "ประชาธิปกศักดิเดชน์" คำว่า "เดชน์" แปลว่า "ลูกศร") เบื้องบนมีรูปพระแสงจักรและพระแสงตรีศูร อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ มีบังแทรกตั้งอยู่ ๒ ข้าง มีลายกนกแทรกอยู่ระหว่างพื้นตราพระราชลัญจกรนี้ สร้างขึ้นสำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน
"รูปพระโพธิสัตว์" เป็นตรางา
ลักษณะกลมศูนย์กลางกว้าง ๗ ซ.ม. รูปพระโพธิสัตว์ประทับบน
บัลลังก์ดอกบัวห้อยพระบาทขวาเหยียบบัวบาน หมายถึงแผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้วด้านหลังแท่นรัศมี มีแท่น
รองรับตั้งฉัตร บริวาร ๒ ข้าง (รูปพระโพธิสัตว์นี้เดิมเป็นตราประจำในพระราชวังดุสิต) เป็นสัญลักษณ์ปรมาภิไธยว่า อานันทมหิดล แปลความหมายว่า เป็นที่ยินดีของแผ่นดินตราพระราชลัญจกรนี้ สร้างขึ้นสำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน
ตราประจำรัชกาลที่ ๙"พระแท่นอัฏทิศ อุทุมพรราชอาสน์" เป็นตรางา ลักษณะรูปไข่ กว้าง ๕ ซ.ม. สูง ๖.๗ ซ.ม.
รูปพระที่นั่งอัฎทิศ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระ "อุ" รอบๆ มีรัศมี
(วันบรมราชาภิเษกได้เสด็จได้เสด็จประทับที่นั่งอัฎทิศ)
แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดินตราพระราชลัญจกรนี้ สร้างขึ้นเมื่อวันบรมราชาภิเษก สำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน
ผลงานอื่นๆ ของ พริกหยวกจิ๋ว ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ พริกหยวกจิ๋ว
ความคิดเห็น